- Advertisement -
30.2 C
Bangkok
Home Blog Page 74

CEO ลามิน่า ร่วมรายการวาไรตี้โต๊ะนี้มีจอง ประเดิมศักราชใหม่ 2567

นางสาวจันทร์นภา สายสมร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงรถยนต์และอาคาร “ลามิน่า” จากสหรัฐอเมริกา แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย พลิกบทบาทใหม่เข้าร่วมรายการ “WHO IS MY CHEF โต๊ะนี้มีจอง” ทางช่องเวิร์คพอยท์ 23 รายการอาหารรูปแบบใหม่ไม่ซ้ำใคร ที่เหล่านักชิมต้องค้นหา “เชฟโต๊ะอร่อย” ตัวจริงที่มาพร้อมเมนูสุดพิเศษ

นางสาวจันทร์นภา สายสมร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟิล์มกรองแสงลามิน่า ร่วมรายการ WHO IS MY CHEF โต๊ะนี้มีจอง เปิดศักราชปี 2567

โดยมี “เสนาลิง” นายสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ พิธีกรอารมณ์ดีเป็นผู้ดำเนินรายการ ที่พาเหล่านักชิมค้นหาเชฟโต๊ะอร่อย ซึ่งนักชิมทั้ง 5 ท่านที่ประเดิมโต๊ะอร่อยในปี 2567 นี้ ได้แก่ “ไอซ์” นายศรัณยู วินัยพานิช “ตุ๊กกี้” นางสาวสุดารัตน์ บุตรพรม “บิ๊กเอ็ม” นายกฤตฤทธิ์ บุตรพรม “นาย เดอะคอมเมเดี้ยน” นายมงคล สะอาดบุญญพัฒน์  และ “ไข่มุก” นางสาวรุ่งรัตน์ เหม็งพานิช

นางสาวจันทร์นภา สายสมร ร่วมรายการ WHO IS MY CHEF โต๊ะนี้มีจอง เปิดศักราชปี 2567

ส่วนเชฟทั้งสามท่านที่นำเมนูซีฟู้ดสุดสูตรหลากหลายมาให้นักชิมได้ลองลิ้มได้แก่ “เชฟจัน” นางสาวจันทร์นภา สายสมร โชว์ฝีมือปรุงเมนูหมี่กรอบกุ้งแม่น้ำโบราณ ที่บรรดานักชิมต่างเทใจเชียร์ให้เป็นเชฟโต๊ะอร่อยตั้งแต่เริ่มรายการ ตามด้วย “เชฟแสงเงิน” กับเมนูชุดข้าวตามสั่ง จากแก๊งนางฟ้าจำแลง และ ”เชฟแจ็ค” เมนูปลาหมึกต้มเค็มหวาน จากร้านข้าวบ้านแม่

“เชฟจัน” นางสาวจันทร์นภา สายสมร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟิล์มกรองแสงลามิน่า และ “ผู้จัดการร้าน” นางสาวสตรีรัตน์ ชูชาติ เลขานุการ CEO

ซึ่งนักชิมที่เลือกจอง “เชฟโต๊ะอร่อย” ได้ถูกต้องจะได้รับประทานอาหารอร่อยสมใจ ส่วนนักชิมคนไหนเลือกพลาด ทีมงานก็เตรียมอาหาร “เชฟโต๊ะอี๋”  ให้ชิมจนต่อมรับรสต้องสะเทือน

ฮอนด้า เผยโฉม “Honda 0 Series” เป็นครั้งแรกในโลกที่งาน CES 2024

ฮอนด้า นำเสนอ “Honda 0 Series” เป็นครั้งแรกในโลกที่งาน CES 2024 นำโดยยนตรกรรมไฟฟ้า Global EV Concept Model 2 รุ่นใหม่ พร้อมเปิดตัวโลโก้ H Mark ใหม่ดีไซน์สุดพิเศษ เพื่อยานยนต์ไฟฟ้าเจเนอเรชันใหม่ของฮอนด้า

•ฮอนด้า เตรียมเปิดตัว “Honda 0 Series (ฮอนด้า ซีโร่ ซีรีส์)” ซีรีส์ยนตรกรรมไฟฟ้ารุ่นใหม่สำหรับตลาดโลก โดยเริ่มจากตลาดอเมริกาเหนือเป็นที่แรกในปี พ.ศ. 2569

•เผยโฉม “Saloon” และ “Space-Hub” Concept model ของยนตรกรรมไฟฟ้าภายใต้ Honda 0 Series ภายในงาน CES 2024

•ครั้งแรกในโลกกับการเปิดตัวโลโก้ H Mark ใหม่ ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อยนตรกรรมไฟฟ้าเจเนอเรชันใหม่ของฮอนด้าในอนาคต

•โดย “Honda 0 Series” อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะมาพร้อมจุดขายใหม่ที่ บาง เบา และชาญฉลาด เพื่อมอบ 5 คุณค่าใหม่ ได้แก่

1.การออกแบบที่งดงาม สะท้อนภาพลักษณ์อันโดดเด่น

2.ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (AD/ADAS) ที่มอบความปลอดภัยและความมั่นใจในทุกการเดินทาง

3.“พื้นที่” ที่เป็นไปได้สำหรับผู้คนด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่หลากหลาย

4.ความสนุกสนานในการขับขี่ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เป็นหนึ่งเดียวกับยานพาหนะ

5.สมรรถนะของพลังงานไฟฟ้าที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพ

(กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น – 10 มกราคม 2567) ฮอนด้า แนะนำ “Honda 0 Series (ฮอนด้า ซีโร่ ซีรีส์)” ซีรีส์ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่เตรียมเปิดตัวทั่วโลกในปี พ.ศ. 2569 นำโดยการเผยโฉม “Saloon” และ “Space-Hub” Concept model ของยนตรกรรมไฟฟ้า 2 รุ่นในซีรีส์ฯ พร้อมเปิดตัวโลโก้ H Mark ใหม่ ที่จะนำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าเจเนอเรชันใหม่ของฮอนด้าในอนาคต เป็นครั้งแรกในโลก ในงาน CES 2024 ณ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

Concept Model ภายใต้ Honda 0 Series (ฮอนด้า ซีโร่ ซีรีส์) ได้แก่ Saloon (ภาพซ้าย) และSpace-Hub (ภาพขวา)

ฮอนด้า ดำเนินธุรกิจภายใต้ Global Brand Slogan คือ The Power of Dreams – How we move you ที่สื่อความหมายว่า ฮอนด้าจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านการขับเคลื่อนและบริการที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถ “ก้าวข้ามขีดจำกัดต่างๆ เช่น เวลาและสถานที่” และ “เพิ่มพูนศักยภาพและโอกาสของผู้คน” ด้วยผลิตภัณฑ์ด้านการขับเคลื่อนและบริการของฮอนด้าเหล่านี้ ฮอนด้า พร้อมสนับสนุนความฝันของผู้คนให้กลายเป็นจริง และเป็นพลังที่ขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าต่อไป

นอกจากนี้ ฮอนด้ายังมีเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่านทุกผลิตภัณฑ์และกิจกรรมที่บริษัทฯ ดำเนินการภายในปี พ.ศ. 2593 พร้อมทั้งเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านยานยนต์ไฟฟ้าของฮอนด้า ในการ “เพิ่มสัดส่วนการขายยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และยานยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ทั่วโลกให้เป็น 100% ภายในปี พ.ศ. 2583”

Honda 0 Series เป็นซีรีส์ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของฮอนด้า ที่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของฮอนด้า ที่สอดคล้องกับ Global Brand Slogan และนโยบายด้านยานยนต์ไฟฟ้า โดยชื่อของซีรีส์แสดงถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ในการรับมือกับความท้าทายในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าซีรีส์ใหม่ๆ เสมือนการย้อนไปยังจุดเริ่มต้นของฮอนด้าในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ และสรรค์สร้างยานยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจาก “ศูนย์” ซึ่งซีรีส์ยานยนต์ไฟฟ้าใหม่นี้ ฮอนด้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวคิด “M/M concept*1” (Man Maximum, Machine Minimum) และ “การขับขี่ที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการผลิตรถยนต์ฮอนด้าทุกรุ่นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยกระดับ “ความสุขและอิสระในการขับเคลื่อน” ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น

โดยฮอนด้า จะเปิดตัวยนตรกรรมรุ่นแรกภายใต้ “Honda 0 Series” ทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2569 เริ่มจากอเมริกาเหนือ ต่อด้วยญี่ปุ่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ทวีปตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ ตามลำดับ 

*1 แนวคิด “man maximum, machine minimum” เป็นแนวคิดพื้นฐานในการออกแบบยนตรกรรมของฮอนด้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในของตัวรถให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้งานได้มากที่สุด และลดพื้นที่สำหรับเครื่องจักรให้เหลือน้อยที่สุด

เกี่ยวกับ Honda 0 Series

แนวคิดเบื้องหลังของ “0” (Zero)

1.ประวัติศาสตร์ของฮอนด้า : จุดเริ่มต้นและก้าวที่ “ศูนย์” ของฮอนด้า ฮอนด้าจะสร้างจุดเริ่มต้นของเจเนอเรชันใหม่ โดยการย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของฮอนด้า ที่รวมถึงการเฟ้นหาแนวคิด M/M การขับขี่ที่สนุกสนานเพลิดเพลิน และความสุขและอิสระในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ฮอนด้าให้ความสำคัญมาโดยตลอด และจะยังคงยึดมั่นในแนวคิดนี้ต่อไป  

2.การนำ Global Brand Slogan มาใช้ : ขับเคลื่อนหัวใจของผู้คนด้วยคุณค่าที่สร้างขึ้นจาก “ศูนย์” ฮอนด้า ขับเคลื่อนด้วย “ความฝัน” อยู่เสมอ และด้วย Global Brand Slogan “The Power of Dreams – How we move you” ฮอนด้าจะสร้างคุณค่าใหม่ที่ริเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น เพื่อที่จะมอบประสบการณ์ที่จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีที่ฮอนด้าขับเคลื่อนผู้คนรวมถึงหัวใจของพวกเขา

3.ความคิดริเริ่มในการตอบแทนสังคม : ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็น “ศูนย์”

ฮอนด้า มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย “การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์” ให้สำเร็จ ตลอดอายุการใช้งานของยานพาหนะ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท และ “การสร้างสังคมปลอดอุบัติเหตุและลดการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ฮอนด้าทั่วโลกให้เป็นศูนย์”

แนวคิด “บาง เบา และชาญฉลาด” (Thin, Light, and Wise) ในการพัฒนายนตรกรรมและคุณค่าใหม่ 5 ประการของยนตรกรรมไฟฟ้าของฮอนด้า

การพัฒนา Honda 0 Series ทีมพัฒนาได้ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของฮอนด้า คิดทบทวนพิจารณาอีกครั้งว่ายนตรกรรมไฟฟ้าแบบไหนที่ฮอนด้าต้องการพัฒนาสำหรับยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยฮอนด้า มุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ให้แก่ยนตรกรรมไฟฟ้า ด้วยการก้าวข้ามข้อจำกัดของการเป็นรถที่ “หนาและหนัก” เนื่องจากต้องรองรับแบตเตอรี่ที่มาพร้อมความจุที่สามารถมอบระยะทางในการขับขี่ให้ได้มากพอ เช่นเดียวกับการที่ตัวถังและแพลตฟอร์มต้องสามารถรองรับกับความจุของแบตเตอรี่ได้ โดยฮอนด้า ได้ใช้แนวคิดใหม่ในการพัฒนายนตรกรรมไฟฟ้า ได้แก่ “บาง เบา และชาญฉลาด”

บาง (Thin) : เพิ่มศักยภาพในการออกแบบ รวมถึงออกแบบตัวรถให้ต่ำ และการคำนึงถึงสมรรถนะตามหลักอากาศพลศาสตร์อันยอดเยี่ยม ด้วยการทำให้แพลตฟอร์ม EV “บาง” เพื่อทำให้ตัวรถต่ำลง

เบา (Light) : คำนึงถึงการขับขี่สไตล์สปอร์ตและสมรรถนะของระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ที่ท้าทายความเชื่อของผู้คนที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์จากฮอนด้า ที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของฮอนด้าในฐานะผู้ผลิตรถยนต์

ชาญฉลาด (Wise) : คำนึงถึงยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ดั้งเดิมของฮอนด้า โดยการผสานองค์ความรู้ที่ฮอนด้าสั่งสมมาจนถึงปัจจุบัน และการพัฒนายนตรกรรมให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น ผ่านการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะอันล้ำสมัย

โดยยนตรกรรมไฟฟ้าของฮอนด้า จะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นตามแนวคิดการพัฒนาข้างต้น และจะมาพร้อมโครงสร้างสำหรับรถ EV โดยเฉพาะ ที่จะมอบคุณค่าหลัก 5 ประการ ดังนี้

1.การออกแบบที่งดงาม สะท้อนภาพลักษณ์อันโดดเด่น

2.ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (AD/ADAS) ที่มอบความปลอดภัยและความมั่นใจในทุกการเดินทาง

3.“พื้นที่” ที่เป็นไปได้สำหรับผู้คนด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่หลากหลาย

4.ความสนุกสนานในการขับขี่ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เป็นหนึ่งเดียวกับยานพาหนะ

5.สมรรถนะของพลังงานไฟฟ้าที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพ

5 คุณค่าใหม่

1)การออกแบบที่งดงาม สะท้อนภาพลักษณ์อันโดดเด่น

แนวคิดในการออกแบบ คือ “The Art of Resonance” ภายใต้ธีม “Resonance with the environment, society and users” หรือความสอดคล้องระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้ใช้งาน ฮอนด้าจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน ที่สะกดทุกสายตาผู้คน และขยายความเป็นไปได้ในชีวิตประจำวันของผู้คน

2)ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (AD/ADAS) ที่มอบความปลอดภัยและความมั่นใจในทุกการเดินทาง

เมื่อปี พ.ศ. 2564 ฮอนด้าได้นำเสนอการขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 สู่การใช้งานจริง โดยได้เปิดตัว All-new Legend ที่มาพร้อมกับ ฮอนด้า เซนส์ซิ่ง อีลิท (Honda SENSING Elite) ที่นำเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีคุณสมบัติรองรับเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (การขับขี่อัตโนมัติแบบมีเงื่อนไขในพื้นที่จำกัด) โดยฮอนด้าจะนำเอาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS: Advanced Driver-Assistive System) ที่ใช้เทคโนโลยีของฮอนด้า เซนส์ซิ่ง อีลิท มาติดตั้งอยู่ใน Honda 0 Series เพื่อมอบประสบการณ์ของเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติให้แก่ลูกค้าทั่วโลก

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2020 ยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series จะมาพร้อมระบบการขับขี่อัตโนมัติ AD (Automated Driving)  และจะนำเสนอยนตรกรรมไฟฟ้าที่มาพร้อมฟังก์ชันการขับขี่อัตโนมัติ ในราคาที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น

ระบบการขับขี่อัตโนมัตินี้ได้รับการพัฒนาตามแนวคิด “มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” ของฮอนด้า โดยระบบนี้จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขั้นสูง เซนส์ซิ่ง  เทคโนโลยีการตรวจจับการจดจำ/การตัดสินใจ และเทคโนโลยีการตรวจจับผู้ขับขี่เพื่อพัฒนาความสามารถให้ใกล้เคียงกับมนุษย์และเป็นธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงการคาดการณ์ความเสี่ยงทั่วไปและความเสี่ยงสูง เพื่อนำเสนอฟังก์ชันการขับขี่อัตโนมัติที่ผู้ขับขี่สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย โดยเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติขั้นสูงดังกล่าว จะเพิ่มจำนวนของสถานการณ์การขับขี่อัตโนมัติให้สามารถใช้งานได้บนทางด่วน ในขณะที่ฟังก์ชันแบบแฮนด์ออฟ (Hands-off) บางฟังก์ชัน จะสามารถใช้งานบนถนนปกติได้ด้วย จากที่ปัจจุบันที่ใช้งานได้บนทางด่วนเท่านั้น

3)“พื้นที่” ที่เป็นไปได้สำหรับผู้คนด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่หลากหลาย

ยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series จะมาพร้อมกับคุณค่าด้าน “ความสนุกสนานในการขับขี่ ความสนุกในการใช้งาน และความสนุกในการเชื่อมต่อ” ผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ระบบปฏิบัติการดั้งเดิมของรถยนต์ฮอนด้า และด้วยความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data จะทำให้รถสามารถจดจำความสนใจของผู้ขับขี่ เช่น เพลงที่ชอบ รวมถึงพฤติกรรมและแนวโน้มของผู้ขับขี่ขณะขับรถ และช่วยให้คำแนะนำได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้ รถยนต์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบและแนะนำเส้นทางจนถึงจุดหมายปลายทางแม้จะลงจากรถไปแล้ว โดยรถยนต์จะมาพร้อมคุณสมบัติในการเข้าใจความรู้สึกของผู้ขับขี่ ยิ่งใช้รถมากเท่าใด ผู้ขับขี่ก็จะใกล้ชิดกับรถมากขึ้นเท่านั้น เพื่อส่งมอบ “ความสนุกในการเชื่อมต่อ” ในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจําวันของผู้คน

4)ความสนุกสนานในการขับขี่ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เป็นหนึ่งเดียวกับยานพาหนะ

ยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series มาพร้อมเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและสมรรถนะตามแบบฉบับของฮอนด้า เพื่อส่งมอบความสนุกสนานในการขับขี่ยุคใหม่ ยกระดับอารมณ์ความรู้สึกในการขับขี่สไตล์สปอร์ตและความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับรถ ทั้งร่างกายและจิตใจให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการผสานการออกแบบตัวรถของ Honda 0 Series ที่มีความต่ำ เข้ากับเทคโนโลยีอากาศพลศาสตร์ของฮอนด้า เช่นเดียวกับที่ใช้ในกลุ่มมอเตอร์สปอร์ต ส่งผลให้สมรรถนะการขับเคลื่อน สมรรถนะทางอากาศพลศาสตร์ และการออกแบบ ผสมกลมกลืนกันได้อย่างลงตัว

5)สมรรถนะของพลังงานไฟฟ้าที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพ

จากเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และการพัฒนายนตรกรรมไฮบริดรุ่นต่างๆ ของฮอนด้าที่สั่งสมมา นำมาสู่สมรรถนะการขับเคลื่อนขั้นสูงจากพลังงานไฟฟ้า โดยยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series จะมาพร้อมกับ e-Axles*2 ที่มาพร้อมความสามารถในการแปลงพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและรูปลักษณ์ที่ดีเยี่ยม ชุดแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และมีความหนาแน่นสูง รวมถึงสมรรถนะด้านอากาศพลศาสตร์ที่ดีเยี่ยม โดยมีเป้าหมายเพื่อมอบระยะทางการใช้งานที่เพียงพอ และในขณะเดียวกันก็ลดพื้นที่ในการติดตั้งแบตเตอรี่บนรถยนต์ให้เหลือน้อยที่สุด

นอกจากนี้ เพื่อลดความกังวลในเรื่อง “ระยะเวลาในการชาร์จ” และ “การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่” ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่รถยนต์ไฟฟ้าเผชิญอยู่ ยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series จะมาพร้อมแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากความกังวลเรื่องการชาร์จและลดการเสื่อมสภาพตลอดการใช้งานหลายปี โดยยนตรกรรมภายใต้ Honda 0 Series ที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2020 จะมาพร้อมฟังก์ชันการชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ 15% ไปถึง 80% ด้วยเวลาประมาณเพียง 10-15 นาที ในขณะเดียวกัน ฮอนด้า มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีควบคุมระบบแบตเตอรี่ ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงจากข้อมูลการขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าของฮอนด้ากว่า 1 ล้านคันมาใช้ในการจำกัดการเสื่อมสภาพความจุของแบตเตอรี่ (ช่วงระยะ) ให้น้อยกว่า 10% หลังจากใช้งานไปแล้ว 10 ปี

*2 ระบบที่ประกอบด้วยมอเตอร์ อินเวอร์เตอร์ และกระปุกเกียร์ ที่แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นแรงขับเคลื่อน

Concept Model ของ Honda 0 Series – Saloon และ Space-Hub

Saloon

ซาลูน (Saloon) เป็นยนตรกรรม Flagship concept model ของ Honda 0 Series ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวคิด “บาง เบา และชาญฉลาด” เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยความเฉพาะตัวของโครงสร้างสำหรับรถ EV จึงช่วยเปิดอิสระในการออกแบบให้กว้างขึ้น และยกระดับแนวคิด M/M ในยุคของยนตรกรรมไฟฟ้าให้เหนือไปอีกขั้น การออกแบบตัวถังต่ำสไตล์สปอร์ต ทําให้ ซาลูน แตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปตั้งแต่แรกเห็น ด้วยการออกแบบที่โดดเด่นและพื้นที่ภายในที่กว้างขวางมากกว่าที่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอก นอกจากนี้ แผงหน้าปัดยังมี Interface การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร (HMI) ที่ใช้งานง่ายและสะดวก ช่วยให้ผู้ใช้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่ล้ำสมัยและไร้รอยต่อ ด้วยทัศนวิสัยสุดเร้าใจและระบบควบคุมที่ใช้งานง่าย ซาลูน จึงมอบประสบการณ์ขับขี่ที่สนุกสนาน เชื่อมโยงกับความรู้สึกของผู้ขับขี่

จากประสบการณ์อันยาวนานในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ต้นแบบ ฮอนด้า มุ่งมั่นนำเสนอระบบควบคุมตามความต้องการของผู้ขับขี่ในทุกสถานการณ์ของการขับขี่ ผ่านเทคโนโลยี steer-by-wire และการพัฒนาระบบเพิ่มความเสถียรและความคล่องตัวในการขับขี่ (Motion Management System) รวมถึงระบบควบคุมท่าทางของผู้ขับขี่ ซาลูน ในฐานะที่เป็นยนตรกรรมรุ่น flagship ของ Honda 0 Series มุ่งมั่นสรรค์สร้างที่สุดของ “ความสนุกสนานในการขับขี่” ในยุค EV นอกจากนี้ ยังมีการนำวัสดุที่มีความยั่งยืนมาใช้ทั้งภายในและภายนอก ทำให้ซาลูน เป็นรถที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว

Space-Hub

สเปซ-ฮับ (Space-Hub) ภายใต้แนวทางการออกแบบของ Honda 0 Series Space-Hub ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิด “เพิ่มพูน (augment) ชีวิตประจำวันของผู้คน” ด้วยแนวทางการพัฒนา “บาง เบา และชาญฉลาด” ทำให้ สเปซ-ฮับ มีห้องโดยสารที่กว้างขวาง มอบทัศนวิสัยที่ดีเยี่ยม พื้นที่ใช้งานมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ กลายเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงผู้คน สร้างพลังแห่งการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกัน

เกี่ยวกับโลโก้ H Mark ใหม่

โลโก้ “H Mark” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่มีการเปลี่ยนโฉมของโลโก้ในครั้งก่อน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการพัฒนาของยนตรกรรมไฟฟ้าเจเนอเรชันถัดไป ฮอนด้า จึงตัดสินใจออกแบบโลโก้ H Mark ใหม่ เพื่อเป็นตัวแทนของยนตรกรรมฮอนด้า ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเจตนารมณ์ขององค์กรในการก้าวข้ามรากฐานเดิมของฮอนด้า และแสวงหาความท้าทายและความก้าวหน้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยโลโก้ใหม่นี้ เปรียบเสมือนมือสองข้างที่ยื่นออกไป แสดงถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้าในการขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการเดินทาง และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าฮอนด้าด้วยความจริงใจ โดยโลโก้ H Mark ดีไซน์ใหม่นี้ จะถูกนำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าเจเนอเรชันต่อไปของฮอนด้า รวมถึงยนตรกรรมใน Honda 0 Series ด้วย

มาสด้า ชูนโยบายลูกค้าเป็นศูยน์กลาง ลุยตลาดปีมังกรทอง

มาสด้า พร้อมลุยรับศักราชใหม่ปีมังกรทอง ชูนโยบายดูแลลูกค้าเต็มรูปแบบ พุ่งเป้าเติบโตอย่างยั่งยืนด้านการขายและการบริการ ด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่คู่ขนานกับการบริหารแบรนด์ยั่งยืน พร้อมยกระดับการขับขี่เหนือระดับโตไปพร้อมกับมาสด้าทั่วโลก

มาสด้า วางยุทธศาสตร์รับปีมังกรทอง สร้างรากฐานให้มั่นคง ปั้นแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เต็มรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ ยกระดับการบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของแบรนด์มาสด้าในประเทศไทย พร้อมเอาใจใส่ดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นด้วยกลยุทธ์ Customer Experience Management (CXM) สร้างประสบการณ์ลูกค้าและมอบสิทธิประโยชน์ ดูแลลูกค้าหลังการขายแบบไร้ข้อกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ควบคู่กับบริหารคุณค่าแบรนด์ให้ยั่งยืนด้วย Brand Value Management (BVM) ตามปณิธานในการยกระดับและเติมพลังให้กับผู้คนผ่านประสบการณ์การขับขี่ที่เหนือระดับ เล็งเป้าปีนี้เติบโตทั้งยอดขายและการเพิ่มฐานลูกค้าที่เข้ารับบริการที่ศูนย์ฯ มาสด้าทั่วประเทศ มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับมาสด้าทั่วโลก

มร.ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์ในปี 2566 “ในปีที่ผ่านมา เป็นปีแห่งความตึงเครียดทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีปัจจัยรอบด้านที่กระทบต่อผลการดำเนินธุรกิจมาสด้าในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป นโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด มาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด รวมถึงกระแสรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคเร็วขึ้น การเข้ามาทำตลาดของแบรนด์ใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงกับมาสด้าที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่ในปัจจุบันไปสู่พลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ๆ แต่ถือว่ามาสด้าทำได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ มาสด้าพร้อมแปรสภาพความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นให้กลายเป็นความเข้มแข็ง เชื่อว่าพรุ่งนี้จะเป็นวันที่ดีกว่านี้”

ในปี 2566 ที่ผ่านมา มาสด้ามียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 16,544 คัน แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่งจำนวน 8,718 คัน ประกอบด้วย มาสด้า2 จำนวน 7,834 คัน และมาสด้า3 จำนวน 884 คัน รถอเนกประสงค์ครอสโอเวอร์เอสยูวี จำนวน 6,981 แบ่งออกเป็น มาสด้า CX-30 จำนวน 3,254 คัน, มาสด้า CX-3 จำนวน 2,389 คัน, มาสด้า CX-8 จำนวน 999 คัน และมาสด้า CX-5 จำนวน 340 คัน รถปิกอัพ มาสด้า บีที-50 จำนวน 834 คัน และรถสปอร์ตเปิดประทุน มาสด้า MX-5 จำนวน 10 คัน ส่วนรถยนต์นั่งสุดหรู มาสด้า6 รุ่นพิเศษ ฉลองครบรอบ 20 ปี ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากมีลูกค้าจองสิทธิ์เข้ามาแล้วกว่า 74 คัน จากจำนวนทั้งหมด 100 คัน

“แม้ว่ายอดขายมาสด้าจะปรับตัวลดลง แต่ในปีที่ผ่านมา มาสด้ายังประสบความสำเร็จในด้านการบริการหลังการขาย อันเป็นผลพวงจากการดำเนินธุรกิจภายใต้ Retention Business Model โดยมีลูกค้ากลับเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง และทำให้ผู้จำหน่ายมีผลกำไรแม้จะอยู่ในสถาวะตลาดชะลอตัว ไม่เพียงเท่านี้ มาสด้ายังสามารถรักษาสัดส่วนการจำหน่ายอะไหล่ไว้ได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยมีการจัดเก็บสต็อกอะไหล่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกับปริมาณลูกค้าที่จะเข้ามารับบริการและรองรับต่อความต้องการในอนาคต จึงสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ด้วยบริการที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้แบรนด์มาสด้าในประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความสำเร็จจากแผนการดำเนินงานภายใต้โมเดลธุรกิจดังกล่าวได้เป็นอย่างดี” มร.ทาดาชิ มิอุระ กล่าว

มร.ทาดาชิ มิอุระ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 ว่า “โดยภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคักอย่างชัดเจน กำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 มาสด้าเชื่อว่าในปีนี้จะเป็นปีที่ท้ายทายยิ่งขึ้น การแข่งขันของตลาดรถยนต์ในประเทศจะทวีความร้อนแรง การเข้ามาลงทุนจากนักธุรกิจต่างประเทศ ผลักดันให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้นจากการปรับอัตราค่าแรง คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 750,000 – 800,000 คัน หรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ในส่วนของมาสด้าคาดว่าจะเติบโตเช่นเดียวกัน เนื่องจากฐานลูกค้าที่เข้ามารับบริการที่ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มโอกาสในการขายรถใหม่มากขึ้น”

ในปีนี้ มาสด้ายังได้ขยายกรอบตามกลยุทธ์ภายใต้ Retention Business Model ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการบริการลูกค้าในทุกมิติ ในรูปแบบ One Stop Service ตั้งแต่ด้านการขาย การบริการหลังการขาย การกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้า การเทรดอิน รวมถึงงานซ่อมตัวถังและสี โดยเฉพาะการขายรถใหม่ผ่านผู้จำหน่ายมาสด้าทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ การขายรถมาสด้ามือสองคุณภาพเหนือระดับ ภายใต้โครงการ Mazda CPO ที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับมูลค่ารถยนต์ให้กับลูกค้า และเพิ่มความสะดวกในการนำรถเข้ามาเทรดอิน โดยในปีนี้จะเน้นพัฒนาการขายผ่านช่องทางออนไลน์ Mazda CPO Marketplace มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าและตอบรับกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ยกระดับบริการหลังการขายด้วยการขยายศูนย์ซ่อมตัวถังและสี (Certified Body & Paint) ลดระยะเวลาในการรออะไหล่ และมอบสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าด้วย Privilege Program ที่พิเศษมากกว่าเดิม เพื่อตอบสนองการให้บริการลูกค้าอย่างครบครัน

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมมีโอกาสและความท้าทายอยู่เสมอ มาสด้าให้ความสำคัญกับลูกค้า ฟังเสียงของลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง มาสด้าเริ่มวางแผนเพิ่มความเข้มข้นในการผลักดันนโยบายต่างๆ โดยเริ่มปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือมาก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปี เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่งด้วย Customer Experience Management (CXM) หรือการจัดการประสบการณ์ลูกค้า เน้นสร้างความพึงพอใจสูงสุดเพื่อสร้างรากฐานให้มั่นคง รวมถึงมุ่งมั่นสร้างแบรนด์ผ่านกลยุทธ์ Brand Value Management (BVM) หรือ การสร้างมูลค่าของแบรนด์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยกลยุทธ์ด้านต่างๆ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

-ปรับองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และครอบคลุมยิ่งขึ้น : นโยบายสำคัญคือการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป ด้วยการปรับรูปแบบของธุรกิจไปสู่ Retention Business Model ซึ่งหลังจากดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้ มาสด้าเตรียบขับเคลื่อนองค์กร ด้วยนโยบายหลัก 3 ประการ ภายใต้ Brand Value Management (BVM) ประกอบด้วย Purpose คือ เจตนารมณ์และเหตุผลหลักในการดำรงอยู่ของมาสด้า เน้นสร้างคุณค่าและเติมเต็มชีวิตให้กับผู้คนได้สัมผัสแบรนด์มาสด้าด้วยความภาคภูมิใจ Promise คือ คำมั่นสัญญาจากแบรนด์ที่มีให้กับลูกค้าทุกคน มาสด้ายังคงมุ่งมั่นพัฒนารถยนต์ภายใต้เทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั่วโลก และ Value คือ การสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้เป็นมากกว่ายานพาหนะแต่เป็นพาร์ทเนอร์ที่จะทำให้ทุกครอบครัวมีความสุขตลอดการเดินทาง

-การตลาดยุคดิจิทัลเน้นสื่อสารกับลูกค้าสร้างความประทับใจ : ยกระดับการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ฟังเสียงของลูกค้ามากขึ้น รักษาฐานลูกค้าเก่าและดึงลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำ สร้างความพึงพอใจสูงสุดและเอาใจใส่ดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด ตามนโยบาย Customer Experience Management (CXM) รวมถึงเข้าใจความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าคนไทยอย่างถ่องแท้ ควบคู่กับการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น พร้อมจัดกิจกรรมร่วมกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้าน CRM และ CSR เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับ องค์กร ผู้คน โลก สังคม ตามพันธกิจเฉกเช่นเดียวกับมาสด้าทั่วโลก

-พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าปัจจุบัน  : มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เต็มรูปแบบยิ่งขึ้น เติมเต็มความต้องการของลูกค้า เติมพลังให้กับผู้คนผ่านประสบการณ์การขับขี่เหนือระดับด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เดินหน้าตามพันธกิจสู่ความยั่งยืน Sustainable Zoom-Zoom 2030 ด้วยการวางรากฐานสู่การนำเสนอรูปแบบพลังงานทางเลือกที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้สถานการณ์และกรอบเวลาที่เหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์

-เอาใจใส่ดูแลลูกค้าเสมือนคนในครอบครัว ธุรกิจของผู้จำหน่ายต้องเติบโตอย่างยั่งยืน : เน้นกลยุทธ์ในการมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้ามาสด้าและครอบครัว ด้วยโครงการ Customer Loyalty Program รวมถึงสิทธิพิเศษในการซื้อรถใหม่กับ Mazda Family Campaign มอบสิทธิประโยชน์ในการเข้ารับบริการที่ศูนย์ฯ มาสด้าทั่วประเทศ เน้นจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ ด้วย Customer Engagement Activity เพิ่มช่องทางในการดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ประสานความร่วมมือกับผู้จำหน่ายทุกโชว์รูมทั่วประเทศ เพื่อเอาใจใส่ดูแลลูกค้าและทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความรักความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว รวมถึงส่งมอบประสบการณ์การใช้รถอย่างไร้ความกังวลกับรถยนต์ทุกรุ่น โดยเฉพาะโปรแกรมดูแลลูกค้าหลังการขายแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อมอบความคุ้มค่าในระยะยาว กับโปรแกรม Mazda Care และ Mazda Ultimate Service เพื่อแทนคำขอบคุณลูกค้าที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับครอบครัวมาสด้า และวางใจให้มาสด้าดูแลไปตลอดอายุการใช้งาน

 “มาสด้าขอขอบคุณลูกค้า พันธมิตร ผู้จำหน่าย และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จากนี้ไป มาสด้ามั่นใจอย่างยิ่งว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนตลอดไป อันเกิดจากสิ่งที่ทางมาสด้าได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนโยบายการเอาใจใส่ดูแลลูกค้าตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์มาสด้าตามกลยุทธ์ Retention Business Model การส่งมอบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่มาพร้อมทางเลือกที่หลากหลายรูปแบบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในปัจจุบัน ช่วยให้การดำเนินชีวิตของลูกค้าเป็นไปอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ตามปณิธานในการส่งมอบความสุขในการขับขี่ Joy of Driving และยกระดับประสบการณ์ความสุขในการขับขี่ และการใช้ชีวิตในทุกด้านให้กับลูกค้าทุกคน” นายธีร์ กล่าวเสริม

มิตซูบิชิ ยกระดับคุณภาพชีวิตมอบ 100 ทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนไทย

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน มอบ 100 ทุนการศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนไทย มุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม

บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มอบทุนการศึกษา 100 ทุน ให้แก่เด็กนักเรียนไทย ผ่านโครงการ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน” เพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางการศึกษา ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้ทำตามความฝันและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยทุนการศึกษาทั้งหมดมอบให้แก่เด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนการศึกษาไม่ให้ขาดตอน สอดคล้องกับปณิธานของบริษัทฯ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาและพร้อมตอบแทนสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง

มร.ชิน คุโบะ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ กรรมการมูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการศึกษาสามารถจะยกระดับคุณภาพชีวิตได้ และช่วยสร้างผลกระทบด้านบวกต่อการพัฒนาประเทศไทยในทุกมิติ การริเริ่มโครงการ ‘มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน’ ด้วยการร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คือโครงการเพื่อสังคมโครงการแรกของมูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย สอดคล้องกับความมุ่งมั่นและปณิธานของเราที่จะสรรค์สร้าง เคียงข้าง สังคมไทย”

“เรามอบทุนการศึกษาทั้งหมด 100 ทุนให้แก่นักเรียนทุกปีผ่านโครงการนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา เรามีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อโครงการมอบทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อสนับสนุนเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดี และสามารถใช้ประโยชน์จากทุนเพื่อการศึกษาต่อและเติบโตขึ้นเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในอนาคต” มร.คุโบะ กล่าวเพิ่มเติม

โครงการมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน ก่อตั้งขึ้นในปี 2563 ด้วยความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีเป้าหมายเพื่อมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในประเทศไทยที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ อีกทั้ง ต้องการการสนับสนุนการศึกษามิให้ขาดตอน

ในปี 2566 มีการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน 79 คนในจังหวัดชลบุรี และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในจังหวัดปทุมธานีอีก 21 คน โดยเด็กนักเรียนทั้งหมดที่ได้รับทุนกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตั้งของศูนย์การผลิตรถยนต์มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และอยู่ในพื้นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาและฝึกอบรม มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สำหรับโครงการนี้ได้ดำเนินการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนมาแล้ว 4 ปีติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 374 ทุน รวมมูลค่า 1.68 ล้านบาท ปัจจุบัน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย และมูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เป็นบริษัทรถยนต์เพียงรายเดียวที่มีความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ณ พิธีมอบทุนการศึกษาที่จังหวัดปทุมธานี น้องๆ นักเรียนยังได้มีโอกาสสัมผัสเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของมิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี และ DENDO DRIVE HOUSE ซึ่งสาธิตระบบการชาร์จไฟสองทิศทาง ทำให้รถอเนกประสงค์รุ่นนี้สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บพลังงานเคลื่อนที่และจ่ายไฟฟ้ากลับสู่ที่พักอาศัยได้ นอกจากนี้ น้องๆนักเรียนยังได้สัมผัสความปราดเปรียวและสมรรถนะการขับเคลื่อนที่ทรงพลังของรถออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน และ รถมิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี และพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เกี่ยวกับเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่เด็กนักเรียนในจังหวัดชลบุรียังได้มีโอกาสเยี่ยมชมโรงงาน 2 ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของบริษัทฯ

นางสาววิภาวี บุรุษหงส์ หัวหน้ายุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมและการระดมทุน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า “ในนามของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ขอขอบคุณ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ริเริ่มโครงการมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน เพื่อร่วมสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นปีที่ 4 โดยในปีนี้ เราได้ร่วมสร้างโอกาสให้แก่น้องๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและปทุมธานี รวม 100 ทุน ที่ผ่านมา กสศ. ได้พยายามสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนความเสมอภาคทางการศึกษาภายใต้หลักคิดปวงชนเพื่อการศึกษา หรือ All for Education เราพยายามกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการหยุดปัญหาความยากจนข้ามรุ่น และสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาเพื่อให้เด็กๆ ที่มีความฝันและเปี่ยมด้วยศักยภาพได้มีอนาคตที่ดีขึ้นต่อไป”

มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2563 ในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมไทยด้วยการดำเนินงานผ่านหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การศึกษา สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ความรับผิดชอบต่อสังคม “สรรค์สร้าง เคียงข้าง สังคมไทย”

ภาพข่าว 1: บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย นำโดย มร.ชิน คุโบะ (กลาง) กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์องค์กร มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน 21 คน ในพิธีมอบทุนการศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ผ่านโครงการ ‘มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน’ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีเป้าหมายเพื่อมอบโอกาสให้แก่เด็กนักเรียนได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องและทำตามความฝัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมด้วย นายจรูญ บัญญัติ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม สายงานกลยุทธ์ทรัพยากรบุคคลและสิ่งแวดล้อม และ นายจารุกร เรืองสุวรรณ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ชำนาญการอาวุโส การพัฒนาเครือข่าย ผู้จำหน่าย สถาบันการศึกษา และฝึกอบรม โดยมีผู้บริหารระดับสูงร่วมเป็นสักขีพยาน ได้แก่ นางสาววิภาวี บุรุษหงส์ (ที่ 4 จากขวา) หัวหน้ายุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมและการระดมทุน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นายวิวัฒน์ สิรพันธ์โภคิน (ที่ 3 จากขวา) รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ภาพข่าว 2 : บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ มูลนิธิ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย นำโดย นายกิตติ ลีลาวัฒนานันท์ (กลาง) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานผลิตมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน 79 คนในพิธีมอบทุนการศึกษาในจังหวัดชลบุรี ผ่านโครงการ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ให้น้องได้เรียน” ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีเป้าหมายเพื่อมอบโอกาสให้แก่เด็กนักเรียนได้ศึกษาต่อและทำตามความฝัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมด้วย มร.ทะคายุคิ โฮะริโมโตะ (ที่ 5 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายงานจัดซื้อจัดจ้าง นางสาวพัชรี โฆษิตวรกิจกุล (ที่ 4 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิต (จัดการห่วงโซ่อุปทาน) โดยมีผู้บริหารระดับสูงร่วมเป็นสักขีพยาน ได้แก่ นางสาววิภาวี บุรุษหงส์ (ที่ 3 จากขวา) หัวหน้ายุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมและการระดมทุน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นายลิขิต ศรีวรมย์ (ที่ 1 จากขวา) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 นางสาวศรีพรรณ ชุมภูหมด (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1

เกรท วอลล์ มอเตอร์ กวาดยอดขายปี 2566 ทั่วโลกทะลุ 1 ล้านคันติดต่อกันเป็นปีที่ 8

เกรท วอลล์ มอเตอร์ เผยยอดขายประจำปี 2566 บรรลุความสำเร็จครั้งสำคัญในการขยายธุรกิจสู่ตลาดโลก ด้วยการทำยอดขายรถยนต์รวมทั่วโลกทั้งหมด 1.23 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นปีที่ 8 ที่ยอดขายทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคันอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นยอดขายในตลาดต่างประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 300,000 คัน โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมามียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าพึงพอใจ เพียงเดือนเดียวสามารถกวาดยอดขายถึง 33,476 คัน สะท้อนถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งและการดำเนินธุรกิจในระดับสากลของบริษัทฯ

ปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ครั้งนี้ คือความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางการตลาด ผสมผสานกับแนวทางขยายธุรกิจสู่ตลาดโลกเพื่ออนาคต ขณะที่ด้านผลิตภัณฑ์ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้มีการวางแผนกำหนดกลยุทธ์อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มลูกค้าในตลาดต่างๆ ทั่วโลก หนึ่งในรุ่นที่เป็นที่รู้จักกันอย่างมาก อาทิ GWM TANK 500 ที่มาพร้อมเครื่องยนต์อันทรงพลังและความสามารถในการขับขี่ออฟโรด โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์ที่มีความหรูหรา สร้างความนิยมในแถบตะวันออกกลางได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการต่อยอดความสำเร็จมาสู่ GWM TANK 700 รถยนต์ระดับไฮเอนด์ที่ถูกจับจองหมดภายในเวลาเพียง 55 วินาทีหลังจากเปิดการขายล่วงหน้าในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่งานมหกรรมกวางโจว ออโต้โชว์ ครั้งที่ 21 ประเทศจีน ในขณะที่ ORA แบรนด์ยานยนต์พลังงานใหม่ก็ได้รับการยกย่องในภูมิภาคยุโรปและแอฟริกาใต้ จนทะยานขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำเซกเมนต์ในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน

ด้วยแนวทางการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค เกรท วอลล์ มอเตอร์ จึงสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับเสียงชื่นชมและกวาดรางวัลอันทรงเกียรติจากหลายเวทีทั่วโลกในปี 2566 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น  GWM HAVAL H6 NEV ที่คว้า 4 รางวัลสำคัญประจำปีในประเทศบราซิล GWM P Series ที่คว้ารางวัล “The Best Pickup Model” ในกลุ่มรถกระบะขนาด 100 – 120 กิโลวัตต์ในการประกวด 2023 South African Annual Pickup Model Competition ขณะที่ GWM ORA 03 ได้รับรองมาตรฐาน 5 ดาวจาก Green NCAP พร้อมด้วย LCA และรางวัล “2023 Annual Award” ของ Top Gear South Africa ด้าน GWM WEY 03, WEY 05 และ ORA 03 ได้รับรองมาตรฐาน 5 ดาวจาก E-NCAP ของยุโรป แบรนด์ GWM ยังคว้ารางวัล 2023 BrandZ “China Global Brand Top 20” ซึ่งรางวัลเหล่านี้ทำให้ยานยนต์พลังงานใหม่ (New Energy Vehicle หรือ NEV) ของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนับเป็นหัวใจของความสำเร็จด้านยอดขายและการเติบโตของส่วนแบ่งตลาดยานยนต์พลังงานใหม่ของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านการเปิดตัวแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Hi4 และ Hi4-T ที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาระบบ Coffee OS และระบบนิเวศอัจฉริยะภายในห้องโดยสารเพื่อรองรับการใช้งานที่สะดวกสบาย ง่ายดาย และสามารถยกระดับประสบการณ์ขับขี่โดยรวมได้เป็นอย่างดี

ในปี 2566 ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นอิสระทำให้ เกรท วอลล์ มอเตอร์  ได้รับการยอมรับในวงกว้างถึงศักยภาพทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งยอดขายในตลาดต่างประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 300,000 คัน ศักยภาพด้านงานวิจัยยังส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกหลากหลายราย โดยในเดือนมิถุนายน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้จับมือกับ Inchcape ผู้จัดจำหน่ายยานยนต์รายใหญ่ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ เดือนกรกฎาคม FTXT Energy บริษัทฯ ในเครือ เกรท วอลล์ มอเตอร์ โฮลดิ้ง กรุ๊ป ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ CNR จากประเทศอิตาลีเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานไฮโดรเจน และเดินหน้าสู่พลังงานสีเขียวอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการผลิต เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้มีการขยายฐานการผลิตในต่างประเทศด้วยการจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศปากีสถานและเอกวาดอร์ และเริ่มดำเนินโครงการใหม่ในมาเลเซียเมื่อปีที่แล้ว

ในปี 2567 เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีความตั้งใจที่จะจัดงาน “2024 GWM Global Fan Festival” เพื่อยกระดับความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานทั่วโลก พร้อมกับแบ่งปันความสำเร็จและความสุขของปีนี้ร่วมไปด้วยกัน เกรท วอลล์ มอเตอร์ พร้อมยืนหยัดเคียงข้างผู้ใช้ทุกท่านในการก้าวสู่เส้นทางยานยนต์พลังงานใหม่แห่งอนาคตที่เชื่อมการขับขี่และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว

ตลอดระยะเวลา 26 ปีของการดำเนินธุรกิจในตลาดโลก เกรท วอลล์ มอเตอร์ ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ “One GWM” และได้มีการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ “Global Ecosystem” โดยความสำเร็จในตลาดต่างประเทศของบริษัทฯ เป็นผลมาจากการดำเนินงานที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง การยึดประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก ความร่วมมือภายใต้หลัก WIN-WIN กับภาคส่วนต่างๆ และแนวคิดความเรียบง่าย เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และส่งเสริมการขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าในทั่วทุกมุมโลก

วิริยะประกันภัย ร่วมกับพันธมิตร รณรงค์ความปลอดภัยทางถนนเทศกาลปีใหม่ 2567

วิริยะประกันภัย ร่วมกับ คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัยรณรงค์ความปลอดภัยทางถนน เทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2567

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ฐานะประธานในพิธีเปิดโครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2567 ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกิจกรรมของ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยมี นายพงศ์พันธ์ ประภาศิริลักษณ์ รักษาการผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุนการออกบูธกิจกรรม นำเกมที่สอดแทรกความรู้เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนมาสร้างสีสันและความสนุกสนานภายในงานอีกด้วย ณ สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สำหรับโครงการดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 พร้อมกันนี้ สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และเครือข่ายพันธมิตรภาคธุรกิจ ยังได้ร่วมกันส่งมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนผ่าน 2 กรมธรรม์ ได้แก่ “กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่เที่ยวได้อุ่นใจ (ไมโครอินชัวร์รันส์) และกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ปีใหม่สุขใจ ฝากบ้านไว้กับประกันภัย (ไมโครอินชัวร์รันส์)” ด้วยเบี้ยประกันภัยเพียง 10 บาท ภายใต้แนวคิด “SMART” (Smart Drive Arrive Safe) เพื่อเป็นการส่งมอบความห่วงใยให้ประชาชนได้เลือกบริหารความเสี่ยงด้วยประกันภัย และกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงการศึกษาสภาพจราจร และเส้นทางการเดินทางที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนเดินทางถึงที่หมายด้วยความอุ่นใจและปลอดภัยตลอดเส้นทาง

โตโยต้า สนับสนุนการแข่งขัน “ปริ๊นเซส สิริวัณณวรี ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส 2024”

โตโยต้า ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาวงการกีฬาแบดมินตันไทยสนับสนุนการแข่งขัน “ปริ๊นเซส สิริวัณณวรี ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส 2024”

นายณัทธร ศรีนิเวศน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายสุรศักดิ์ เกิดจันทึก รองผู้ว่าการ ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา และพลอากาศเอกเสกสรร คันธา ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขัน ร่วมแถลงข่าวจัดการแข่งขันแบดมินตันรายการ “ปริ๊นเซส สิริวัณณวรี ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส 2024” ระดับเวิลด์ทัวร์ ซูปเปอร์ 300 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พร้อมเงินรางวัลรวม 210,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7,240,000 บาท ซึ่งการแข่งขันรายการสำคัญนี้เป็นอีกหนึ่งในการเก็บคะแนนสะสมของนักกีฬำไทย เพื่อจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันกีฬำโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยงานแถลงข่าวจัดการแข่งขันได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ณ โรงแรมอโนมาแกรนด์ กรุงเทพฯ

นายณัทธร ศรีนิเวศน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวในการแถลงข่าวว่า “ในฐานะหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของรายการ โตโยต้ามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการกีฬาแบดมินตันไทย โตโยต้าเชื่อมั่นว่าการจัดการแข่งขันในประเทศไทยครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้นักกีฬาไทยได้ยกระดับฝีมือ แสดงศักยภาพและสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมเพื่อมอบความสุขให้กับแฟนกีฬาแบดมินตันไทย พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยให้หันมาสนใจเล่นกีฬาแบดมินตันให้มากยิ่งขึ้น ผมขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยเข้าชมการแข่งขันและร่วมเป็นกำลังใจให้กับนักกีฬาของไทยในการแข่งขันในครั้งนี้ด้วยครับ ที่สำคัญผมขอขอบคุณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้ให้โอกาส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ในการเป็นผู้สนับสนุนหลักสำหรับการจัดการแข่งขันปริ๊สเซส สิริวัณณวรี ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส 2024 ครั้งนี้”

                           “โตโยต้า ร่วมขับเคลื่อนอนาคต”

วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนปีใหม่ 2567

วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ “ปีใหม่ปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนน” 2567 ขนส่งหมอชิต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธกิจกรรมของ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยมี นายพงศ์พันธ์ ประภาศิริลักษณ์ รักษาการผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับ ภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “ปีใหม่ปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนน” ซึ่งบริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุนมูลนิธิเมาไม่ขับจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ด้วยการนำกลุ่มวิริยะจิตอาสาร่วมเดินรณรงค์ “ง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ ขับไม่โทร” เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและลดพฤติกรรมเสี่ยงขณะเดินทางที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงออกบูธกิจกรรมการเล่นเกมที่สอดแทรกความรู้ในเรื่องของการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนมาสร้างความสุขสนุกสนานให้กับประชาชนผู้เข้าร่วมงาน ณ สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว มูลนิธิเมาไม่ขับ ร่วมกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุเมาไม่ขับ ภาครัฐ ภาคเอกชน จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน มีสติ และไม่ประมาทในการขับขี่ยานพาหนะ ผ่านกิจกรรมการเสวนา “ฉลองปีใหม่อย่างไร ไม่ตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุ” และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายจากการเมาแล้วขับ พร้อมส่งมอบความห่วงใยไปยังประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวพักผ่อนในต่างจังหวัดช่วงเทศกาลวันหยุดยาวให้ถึงจุดหมายปลายทางด้วยความปลอดภัย

ยามาฮ่า แต่งตั้ง นายพงศธร เอื้อมงคลชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร

ยามาฮ่ามอเตอร์ แต่งตั้ง นายพงศธร เอื้อมงคลชัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร ไทยยามาฮ่ามอเตอร์

บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศแต่งตั้ง นายพงศธร เอื้อมงคลชัย ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด แทน มร.ทัตสึยะ โนซากิ ที่ครบวาระในการดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2566 พร้อมรักษาการรองประธานกรรมการบริหาร อีกตำแหน่งด้วย

มร.โยชิฮิโระ ฮิดากะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เนื่องจาก มร.ทัตสึยะ โนซากิ  ประธานกรรมการบริหารคนปัจจุบันครบวาระการทำงานในปี พ.ศ. 2566 ทางบริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น จึงมีมติแต่งตั้ง นายพงศธร เอื้อมงคลชัย ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริหาร และรักษาการรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

สำหรับนายพงศธร เอื้อมงคลชัย ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง General Manager of Global Human Resources Development Division ที่ บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 ปี (2559-2561) จากนั้นจึงกลับมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ด้านการค้า บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ในปี พ.ศ.2561 และในปี พ.ศ.2562 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ก่อนที่จะเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

THAI FIGHT 2023 รอบชิงชนะเลิศ 3 นักชกไทยครองแชมป์

สุดเดือด THAI FIGHT 2023 รอบชิงชนะเลิศ 3 นักชกไทยครองแชมป์ คว้าถ้วยพระราชทาน พร้อมรับรถ ใหม่! “อีซูซุ ดีแมคซ์ เหนือลิมิต…พิชิตโลก” พร้อมเงินสด มูลค่ารวมกว่า 4 ล้านบาท

เดินทางมาถึงรอบชิงชนะเลิศเป็นที่เรียบร้อยสำหรับศึก THAI FIGHT 2023 โดยมี มร. ทาคาชิ ฮาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด แสดงความยินดีกับ 3 สุดยอดนักชกผู้คว้าแชมป์ THAI FIGHT 2023 ในงาน THAI FIGHT หลวงปู่ทวด รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรถปิกอัพ “ใหม่! อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮแลนเดอร์ 1.9 ดีดีไอ รุ่น 2 ประตู พร้อมเงินสด มูลค่ารวมกว่า 4 ล้านบาท ณ ลานกิจกรรมพุทธอุทยานมหาราช วัดวชิรธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

THAI FIGHT 2023 รอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นภายใต้ชื่อ “THAI FIGHT หลวงปู่ทวด” โดยมี คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน THAI FIGHT และ คุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ ประธานมูลนิธิหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่อยุธยา ขึ้นกล่าวเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ในฐานะประธานร่วมจัดการแข่งขัน THAI FIGHT หลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นการปะทะหมัดของสุดยอดนักชกจากนานาชาติ จำนวน 8 คู่ โชว์ลีลาแม่ไม้มวยไทยแบบคละรุ่นทั้งแบบสวมนวมและแบบคาดเชือก พร้อมความสนุกทวีคูณด้วยคู่เอก พิกัด 67 กิโลกรัม เป็นการพบกันระหว่าง สุขสวัสดิ์ แสงมรกต ฉายาพยัคฆ์สุรินทร์ แชมป์อีซูซุคัพปี 2023 พบ วาฮิด นิคคาห์ นักชกจากประเทศอิหร่าน เมื่อระฆังดังเริ่มยกที่หนึ่ง วาฮิดที่ดูจะได้เปรียบในเรื่องช่วงตัว แต่ก็ยังออกอาวุธไม่ค่อยเข้าเป้า ในยกนี้จะเป็นการดูเชิงของกันและกัน ยังไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ต่อมาในยกที่สอง ทั้งคู่ต่างพยายามหาจังหวะเพื่อทำคะแนน แต่สุขสวัสดิ์สาวเท้าเตะเข้าเป้า ยกนี้ดูว่าลูกเตะจะได้เปรียบแต่ก็ยังต้องระวังวาฮิดอยู่ ยกสุดท้ายสุขสวัสดิ์ลุยเข้าทำคะแนนอย่างหนัก ถึงแม้ว่าจะเป็นรองเรื่องช่วงตัว แต่อาศัยความเร็วสาวเท้าเตะเข้าเป้าอยู่หลายจังหวะ ทำให้สุขสวัสดิ์คว้าแชมป์ไป

เสริมด้วยคู่มวยที่พลาดไม่ได้อีก 2 คู่ เป็นการพบกันในพิกัด 72.5 กิโลกรัม ระหว่าง เต็งหนึ่ง ต้อมนครสวรรค์ พบ อะบอลฟาซล์ เมห์ราซารัน นักชกอิหร่าน คู่นี้สนุกตั้งแต่ยกที่หนึ่ง กระหน่ำออกอาวุธกันแบบไม่มียั้ง ต่อด้วยยกที่สองเต็งหนึ่งเดินเกมรุกอย่างหนัก ดูจะได้เปรียบเชิงมวยออกอาวุธหมัดและเตะได้เข้าเป้ามากกว่า ยกสุดท้ายออกอาวุธกันอย่างดุเดือดทำเอากองเชียร์ส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนั่น หลังระฆังจบยกกรรมการประกาศผลเต็งหนึ่งคว้าชัยชนะไป และ ในพิกัด 70 กิโลกรัม ระหว่าง ป.ต.ท. ว.รุจิรวงศ์ พบกับ อเลสซิโอ มาลาเตสต้า นักชกอิตาลี คู่สุดท้ายของงานก็ดุเดือดไม่แพ้คู่อื่น เริ่มต้นยกแรกออกอาวุธครบเครื่องทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก มุ่งมั่นเดินเกมรุกกันอย่างหนัก จบยกที่หนึ่งก็ได้เห็นเลือดกำเดาจากทางอเลสซิโอ ยกที่สองเพิ่มความเดือดมากขึ้น ทั้งคู่เดินหน้าออกอาวุธกันแบบสุดตัว ไม่มีใครยอมใคร ถือว่าสูสีกันมากในยกนี้ ยกสุดท้ายทำเอากองเชียร์ลุ้นกันตัวโก่ง ในยกนี้ ป.ต.ท. ปล่อยหมัดได้แม่นกว่า ทำให้สุดท้าย ป.ต.ท. คว้าแชมป์ไปครอง แชมป์ THAI FIGHT 2023 ทั้ง 3 รุ่นนี้ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับปิกอัพ “ใหม่! อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮแลนเดอร์ 1.9 ดีดีไอ รุ่น 2 ประตู ไปครอง

ผลการแข่งขัน THAI FIGHT 2023 รอบชิงชนะเลิศ

ผลคู่ 1 Super Fight คาดเชือก 65 กิโลกรัม

ยูเนส เบนาลี่ (โมร็อกโก) แพ้คะแนน เพชรภาคใหม่ ช.ชนะมวยไทย (ไทย)

ผลคู่ 2 Super Fight คาดเชือก 77 กิโลกรัม

ไลอ้อน แฟมิลี่มวยไทย (ไทย) ชนะน็อค ยก 2 อาบูฟาเซล กู๊ดดาร์ซ  (อิหร่าน)

ผลคู่ 3 ชิงแชมป์ THAI FIGHT LEAGUE 61 กิโลกรัม

เขี้ยวเพชร เกิยรติไพรสณฑ์ (ตรัง) ชนะคะแนน ขุนศึกเล็ก ศิษย์ผู้ใหญ่เทพ (บุรีรัมย์)

ผลคู่ 4 ชิงแชมป์ THAI FIGHT ถ้วยพระราชทาน รุ่น 67 กิโลกรัม สวมนวม

สุขสวัสดิ์ แสงมรกต (ไทย) ชนะคะแนน วาฮิด นิคคาห์ (อิหร่าน)

ผลคู่ 5 ชิงแชมป์ THAI FIGHT ถ้วยพระราชทาน รุ่น 70 กิโลกรัม สวมนวม

น้องโอ ช.ห้าพยัคฆ์ (ไทย) ชนะน็อค ยก 2 อาร์มาน โมราดี (อิหร่าน)

ผลคู่ 6 ชิงแชมป์ THAI FIGHT คาดเชือกหญิง ถ้วยพระราชทาน รุ่น 54 กิโลกรัม

เวโร ว.รุจิรวงศ์ (เมียนมา) ชนะน็อค ยก 1 พญาสิงห์ ส.สมมิตร (ไทย)

ผลคู่ 7 ชิงแชมป์ THAI FIGHT คาดเชือก ถ้วยพระราชทาน รุ่น 72.5 กิโลกรัม

เต็งหนึ่ง ต้อมนครสวรรค์ (ไทย) ชนะคะแนน อะบอลฟาซล์ เมห์ราซารัน (อิหร่าน)

ผลคู่ 8 ชิงแชมป์ THAI FIGHT คาดเชือก ถ้วยพระราชทาน รุ่น 70 กิโลกรัม

ป.ต.ท. ว.รุจิรวงศ์ (ไทย) ชนะคะแนน อเลสซิโอ มาลาเตสต้า (อิตาลี)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save