- Advertisement -
28.9 C
Bangkok
Homeข่าวประชาสัมพันธ์สถาบันยานยนต์ จับมือ ออโตลิฟ เสริมพลัง ATTRIC ยกระดับความปลอดภัยในยานยนต์

สถาบันยานยนต์ จับมือ ออโตลิฟ เสริมพลัง ATTRIC ยกระดับความปลอดภัยในยานยนต์

- Advertisement -

สถาบันยานยนต์ จับมือ ออโตลิฟ เสริมพลัง ATTRIC ยกระดับระบบความปลอดภัยในยานยนต์ พัฒนากระบวนการทดสอบและมาตรฐานความปลอดภัยยานยนต์

สถาบันยานยนต์ และ บริษัท ออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการสำหรับระบบความปลอดภัยปกป้องขณะเกิดอุบัติเหตุ (Passive Safety) เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค การพัฒนากระบวนการทดสอบและมาตรฐานความปลอดภัยยานยนต์ ได้แก่ เข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย และ ระบบปกป้องผู้โดยสารขณะเกิดการชน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการทดสอบ การวิจัยพัฒนา และการขยายขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ณ ห้องประชุม 301 สถาบันยานยนต์ สำนักงานกล้วยน้ำไท

ตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรม มีเป้าหมายเร่งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยยกระดับและพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และขับเคลื่อนประเทศให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ของภูมิภาคอาเซียน สามารถทดสอบมาตรฐานยานยนต์ได้อย่างครบวงจร ด้วยการจัดสร้างโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการไปแล้วเสร็จแล้ว 55% ในส่วนของสนามทดสอบฯ ต่างๆ และเครื่องมือทดสอบเข็มขัดนิรภัย ที่นั่งและพนักพิงศีรษะ และระบบห้ามล้อ เป็นต้น โดยการก่อสร้างเฟส 2 ยังคงเหลือการดำเนินงานอีก 45% ในการก่อสร้างสนามทดสอบความเร็ว (High Speed Test Track) สถานีสำหรับเตรียมสภาพรถ และจัดซื้อชุดเครื่องมือทดสอบการยึดเกาะถนนการเข้าโค้ง ชุดเครื่องมือทดสอบอุปกรณ์เลี้ยวสำหรับยานยนต์ รวมถึง“ชุดเครื่องมือทดสอบการป้องกันผู้โดยสารเมื่อเกิดการชนด้านหน้าและด้านข้างของยานยนต์” (Crash Test) และคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการในปี 2569 หากดำเนินการแล้วเสร็จ ประเทศไทยจะเป็นศูนย์ทดสอบยานยนต์เพื่อการรับรองแห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถทดสอบมาตรฐานการชนได้อย่างครบวงจร

บริษัท ออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย และอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในยานยนต์ระดับโลกที่เปิด ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญ กว่า 70 ปี จากประเทศสวีเดน และได้ก่อตั้งสำนักงานในประเทศไทยมาแล้วถึง 28 ปี ดำเนินงานด้านวิจัย วิศวกรรม และการผลิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการลดการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนแห่งประเทศไทย 2565 โดยกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตทางถนนอยู่ที่ 16,957 รายหรือคิดเป็น 25.92 ต่อประชากรแสนราย และมีผู้บาดเจ็บรุนแรง (IPD) 197,733 รายหรือคิดเป็น 303.21 ต่อประชากรแสนคน มูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตรวมใน 5 ปีที่ผ่านมากกว่าห้าแสนล้านบาท จึงทำให้สถาบันยานยนต์ และ บริษัทออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญของการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บบนท้องถนนให้ลดน้อยลง

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างสถาบันยานยนต์ และ บริษัทออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ และ นางมณี แบกกิวลี่ ASEAN CFO and Country Manager Thailand มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการบนพื้นฐานความรู้และทักษะทางเทคนิคด้านการทดสอบ การวิจัย การพัฒนาด้านวิศวกรรม รวมถึงขยายขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ การชนด้านหน้า การชนด้านข้าง และการทดสอบเข็มขัดนิรภัยรวมถึงโมดูลถุงลมนิรภัยต่อไปในอนาคต โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากความร่วมมือฉบับนี้นั้น ทำให้คุณภาพของการทดสอบข้างต้นสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานยุโรปที่อ้างอิง โดยจะเป็นไปตามแผนการประกาศมาตรฐานยานยนต์ของกรมการขนส่งทางบกและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พร้อมผลักดันให้ไทยมีขีดความสามารถด้านการทดสอบมาตรฐานยานยนต์ได้อย่างครบวงจรอีกด้วย

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
ช่องทางติดตามสมาคม
16,985FansLike
2,458FollowersFollow
61,453SubscribersSubscribe
เรื่องหน้าสนใจ
- Advertisement -
- Advertisement -
เรื่องล่าสุด
- Advertisement -

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save