- Advertisement -
31.2 C
Bangkok
HomeUncategorizedตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนปี 2567 ชะลอตัว ทำยอดขาย 42,309 คัน

ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนปี 2567 ชะลอตัว ทำยอดขาย 42,309 คัน

- Advertisement -

ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนชะลอตัว ยอดขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3% ลุ้นยอดจอง Motor Expo 2024 ดันยอดขายส่งท้ายปี 2567

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 ยอดขายตลาดรวม 42,309 คัน ลดลง 31.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,000 คัน ลดลง 26.7% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 24,309 คัน ลดลง 34.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 14,435 คัน ลดลง 34.7%

  • ประเด็นสำคัญ

ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2567 มียอดขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ 26.7% ด้วยยอดขาย 18,000 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 34.4% ด้วยยอดขาย 24,309 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ทำยอดขายได้ 14,435 คัน ลดลง 34.7% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 14,988 คัน คิดเป็นสัดส่วน 35% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตลดลง 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV 8,373 คัน คิดเป็นสัดส่วน 56% ของตลาด xEV ทั้งหมดเติบโตลดลง 20% และยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 5,870 คัน คิดเป็นสัดส่วน 39% จากยอดขายในกลุ่ม xEV ทั้งหมด ลดลง 36% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากยอดจองทั้งหมดรวมทุกยี่ห้อและประเภทรถยนต์ ในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 41 Thailand International Motor Expo 2024 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่มาพร้อมกับรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญกระตุ้นตลาดช่วงสุดท้ายปลายปี ที่แต่ละค่ายต่างขนกันมาแบบจัดเต็ม ทำยอดจองได้ถึง 54,513 คัน เติบโตขึ้น 2.38% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการผลักดันตลาดรถยนต์เดือนธันวาคมให้เติบโตขึ้นได้

  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2567
  • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3%             
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า       17,107 คัน      ลดลง   21.2%  ส่วนแบ่งตลาด   40.4%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ               6,068 คัน     ลดลง   41.7%  ส่วนแบ่งตลาด   14.3%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า          4,874 คัน      ลดลง   33.5%  ส่วนแบ่งตลาด   11.5%
  • ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,000 คัน ลดลง 26.7%                                  
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า         5,751 คัน      ลดลง   23.4%  ส่วนแบ่งตลาด     32%
  • อันดับที่ 2 ฮอนด้า          3,829 คัน      ลดลง   2.5%  ส่วนแบ่งตลาด   21.3%
  • อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ         1,461 คัน      เพิ่มขึ้น 67.5%  ส่วนแบ่งตลาด   8.1%
  •  
  • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 24,309 คัน ลดลง 34.4%                                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า       11,356 คัน      ลดลง     20%  ส่วนแบ่งตลาด   46.7%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           6,068 คัน     ลดลง   41.7%  ส่วนแบ่งตลาด     25%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด          1,603 คัน      ลดลง     31%  ส่วนแบ่งตลาด   6.6%

  • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 14,435 คัน ลดลง 34.7%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า          6,521 คัน      ลดลง   23.7%  ส่วนแบ่งตลาด   45.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ             5,251 คัน      ลดลง     44%  ส่วนแบ่งตลาด   36.4%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด           1,603 คัน      ลดลง     31%  ส่วนแบ่งตลาด   11.1%

  *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,954 คัน

โตโยต้า 1,194 คัน – อีซูซุ 918 คัน – ฟอร์ด 640 คัน – มิตซูบิชิ 149 คัน – นิสสัน 53 คัน

  •  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 11,481 คัน ลดลง 35.7%                                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า         5,327 คัน       ลดลง   25.2% ส่วนแบ่งตลาด   46.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ            4,333 คัน      ลดลง      45%   ส่วนแบ่งตลาด   37.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด              963 คัน       ลดลง   34.9%    ส่วนแบ่งตลาด     8.4%     

  • สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม –  พฤศจิกายน 2567
  • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 518,659 คัน ลดลง 26.7%                              
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า       199,487 คัน     ลดลง   17.5% ส่วนแบ่งตลาด   38.5%
  • อันดับที่ 2 อีซูซุ              77,429 คัน     ลดลง    45.3% ส่วนแบ่งตลาด   14.9%
  • อันดับที่ 3 ฮอนด้า          67,322 คัน     ลดลง   20.3% ส่วนแบ่งตลาด      13%
  • ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 203,421 คัน ลดลง 23.6%                                 
  • อันดับที่ 1 โตโยต้า       59,784 คัน      ลดลง      35% ส่วนแบ่งตลาด   29.4%
  • อันดับที่ 2 ฮอนด้า        41,169 คัน      ลดลง    19.7% ส่วนแบ่งตลาด   20.2%
  • อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ       16,640 คัน      เพิ่มขึ้น  16.4% ส่วนแบ่งตลาด     8.2%
  • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 315,238 คัน ลดลง 28.5%                     

อันดับที่ 1 โตโยต้า       139,703 คัน     ลดลง     6.7% ส่วนแบ่งตลาด   44.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           77,429 คัน     ลดลง   45.3% ส่วนแบ่งตลาด   24.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า       26,153 คัน     ลดลง   21.3% ส่วนแบ่งตลาด     8.3%

  • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 181,286 คัน ลดลง 39.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า        82,940 คัน     ลดลง   29.8% ส่วนแบ่งตลาด   45.8%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        67,267 คัน     ลดลง   47.1% ส่วนแบ่งตลาด   37.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        19,023 คัน     ลดลง   43.4% ส่วนแบ่งตลาด   10.5%

  *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 32,349 คัน

โตโยต้า 11,476 คัน – อีซูซุ 11,121 คัน – ฟอร์ด 7,287 คัน – มิตซูบิชิ 2,038 คัน – นิสสัน 427 คัน

  •  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 148,937 คัน ลดลง 39.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า     71,464 คัน      ลดลง    26.9% ส่วนแบ่งตลาด      48%

อันดับที่ 2 อีซูซุ        56,146 คัน      ลดลง    47.9% ส่วนแบ่งตลาด   37.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด       11,736 คัน      ลดลง    48.2% ส่วนแบ่งตลาด     7.9% 

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
ช่องทางติดตามสมาคม
16,985FansLike
2,458FollowersFollow
61,453SubscribersSubscribe
เรื่องหน้าสนใจ
- Advertisement -
- Advertisement -
เรื่องล่าสุด
- Advertisement -

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save