บทสรุปงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสุดยิ่งใหญ่เเห่งปี iEVtech 2023 จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) ร่วมกับอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ชูคอนเซ็ปต์ Shaping the Future of Electric Vehicle Ecosystem ขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคต
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมด้วยคุณสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เปิดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งปี iEVtech 2023 งานเเสดงนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าสุดยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้นำเสนอในคอนเซ็ปต์ “Shaping the Future of Electric Vehicle Ecosystem: Business and Investment Opportunities in Thailand” ขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคต จัดขึ้นตั้งเเต่วันที่ 30 สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นอกจากนี้ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ยังได้มีการจัดทำลงนามบันทึกความเข้าใจ กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคอุตสาหกรรมเฉิงตู (CVTCI) ประเทศจีน โดย คุณเจียว ยาง ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารระหว่างประเทศ เเห่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคอุตสาหกรรมเฉิงตู กล่าวว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีกรอบความร่วมมือ ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยในประเด็นการเเชร์ความรู้ เเละทักษะต่างๆ กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคอุตสาหกรรมเฉิงตู รวมไปถึงเราขอเเสดงความยินดี ในการจัดงานเเสดงนวัตกรรมสุดยิ่งใหญ่ iEVtech2023 ในครั้งนี้ ยิ่งส่งเสริมให้เห็นได้ชัดเจนว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโต ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมกันนี้ ประเทศไทยในปัจจุบันยังดึงดูดนักลงทุนจากนานาประเทศ รวมไปถึงการลงทุนจากประเทศจีนด้วย ที่จะเข้ามาช่วยพลักดันประเทศไทยให้มีอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”
และบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กับเขตอุตสาหกรรม Yeonnggwang-gun ประเทศเกาหลีใต้ โดย คุณ คัง จงเเมน นายกเทศมนตรีเมือง Yeonggwang-gun กล่าวว่า เมือง Yeonggwang-gun นั่นได้มีการผลักดันเเละสนับสนุน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง เขตอุตสาหกรรมของเรานั้นได้ริเริ่ม ตั้งเเต่การออกเเบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการผลิตเเละบริการหลังการขาย เเละในปัจจุบันเราต้องการขยายความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำในต่างประเทศอย่างในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศนั้นๆด้วย นอกจากนี้หลังจากเหตุการณ์ Covid-19ที่ผ่านมา เราเจอกับความท้าทายต่างๆ มากมาย ท้ายที่สุดเเล้วเราจะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ ให้พัฒนาต่อไปในอนาคต”
โดย เสวนาไฮไลท์ของงานในหัวข้อ Shaping the Future of Electric Vehicle Ecosystem ขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคต ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้สื่อข่าวสายการเงิน สำนักข่าว The Standard ซึ่งในหัวข้อเสวนาดังกล่าวนี้มีตัวเเทนผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่
คุณจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย กล่าวในหัวข้อ ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Insurance) เผยว่า “ในอุตสาหกรรมประกันภัยในประเทศไทย ผมในฐานะตัวเเทนสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย เราเล็งเห็นถึงปัญหา ในช่วงต้นปีหน้าเรามีเเผนจะออกบริการพิเศษ เเละยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ อย่างในประเทศไทยในขณะนี้ เราเป็นประเทศร้อนชื้น อาจต้องเพิ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับเหตุอุทกภัย ที่เกิดขึ้นกับยานยนต์ไฟฟ้า เเต่เราจะต้องรอในส่วนของข้อมูลเคสต่างๆที่เกิดขึ้นในปีนี้เเละจำนวนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราจะพัฒนาบริการต่างๆต่อไปที่ครอบคลุมถึงผู้ใช้บริการ เเน่นอนว่าผู้ใช้บริการกำลังกังวลในเรื่องของราคาในการซ่อมเเซมเเบตเตอรี่ ปัจจุบันราคาสำหรับประกันภัยยานยนต์ไฟฟ้านั้นเเพงมาก เเต่ในอนาคตเรามองเห็นทิศทางว่า ราคาประกันภัยจะถูกลงมากขึ้น เพราะเราจะมีผู้เล่นในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น มีการตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเเล้ว ทิศทางของประกันภัยยานยนต์ไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย”
ต่อด้วย คุณคมกฤช บพิตรพิทักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) กล่าวในประเด็น การเงิน (Finance) “ ในฐานะสถาบันการเงิน เรามีหน้าที่สนับสนุนด้านการเงิน ทั้งกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิตอะไหล่ยานยนต์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง เจ้าของโรงงาน เจ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เเละผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เรายังมีหน้าที่กำกับดูเเลในส่วนของ การจ่ายเงิน การดูเเลความก้าวหน้า เเละการกำกับดอกเบี้ยต่างๆ เพราะฉะนั้นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เเค่จะสนใจเเต่เรื่องของ Fund raising เพื่อให้ธุรกิจพวกเขาอยู่รอดเพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการที่สถาบันทางการเงินมานั่งคุยกัน ในส่วนของการสนับสนุนที่เป็นธรรมกับ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือผู้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคาร”
ตามด้วย คุณ Michael Chadney หัวหน้าแผนกวางแผนการขนส่งและการเคลื่อนที่ในอนาคต (ARUP) กล่าวในหัวข้อสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) “เราต้องเข้าใจในประเด็น EV Ecosystem เบื้องต้นเสียก่อน ที่เริ่มตั้งเเต่ ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า โรงงานที่ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า Soft infrastruture ต่างๆ ได้เเก่ การพัฒนาเเพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ประสบการณ์ของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการบำรุงรักษา อะไหล่ การชาร์จไฟฟ้า ไปจนถึงการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า เเละเมื่อกล่าวถึงเเนวโน้มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใน 3 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีจุดเเข็งในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อย่าง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เเละมาเลเซีย ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นก็กำลังมีอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอยู่ พร้อมๆ กับ 3 ประเทศดังกล่าว”
คุดร.แฟรงกี เซีย ประธาน Taiwan STOBA Electrodes Corp. กล่าวในหัวข้อ ความปลอดภัยของแบตเตอรี่ (Battery Safety) กล่าวถึง “โซลิดสเตตเเบตเตอรี่ ณ ขณะนี้ ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน เรายังมีการศึกษาเเละพัฒนาในส่วนของโซลิดสเตตเเบตเตอรี่ที่ค่อนข้างช้าอยู่ เเต่ในอนาคตมีโอกาสที่เราจะได้เห็นการพัฒนา โซลิดสเตตเเบตเตอรี่ ในประเภทที่ไม่มีส่วนผสมของของเหลวอยู่ด้านในเเบตเตอรี่ ซึ่งในอนาคตเเบตเตอรี่ในประเภทนี้เราน่าจะได้เห็นการใช้อย่างเเพร่หลาย เเละถูกผลิตมากขึ้นในโลก นอกจากนี้ในเรื่องของความปลอดภัยของการใช้เเบตเตอรี่ เราได้มีการพัฒนาให้เเบตเตอรี่ถูกใช้อย่างเหมาะสม เเละไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน”
สุดท้ายคุณ Liu Xuan หุ้นส่วนด้านเทคนิค DeepRoute กล่าวในหัวข้อ การขับขี่ยานยนต์เเบบไร้คนขับ (Autonomous) ว่า “เราจะทำอย่างไรให้การขับขี่ยานยนต์เเบบไร้คนขับสามารถประยุกต์ใช้ในทุกที่ทั่วโลก ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ด้วยราคาที่เป็นธรรม เราได้ตั้งราคาไว้ที่คร่าวๆ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ เเละ เรียกบริการนี้ว่า DeepRoute – Driver เรามองว่าในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ที่คิดค้นขึ้นจากเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้นเเบบให้ทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ด้วย“ ซึ่งในหัวข้อเสวนานี้ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้สื่อข่าวสายการเงิน สำนักข่าว The Standard
ต่อด้วยในช่วงถัดไปเป็นปาฐกถาพิเศษ “Global EV Outlook 2023” โดย ผู้แทนสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และปิดท้ายวันด้วย ปาฐกถาพิเศษ “แนวโน้ม EV ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดย คุณภูหริพัทธ์ ตันนิพัทธ์ ที่ปรึกษาอาวุโส Frost & Sullivan
งานเสวนาถัดมา วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้เเก่ งานเสวนาที่เกี่ยวข้องกับ Global Update Session อัพเดทเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าโลก กับ UNEP เเละ UNESCAP ซึ่งทาง UNEP ได้พูดเกี่ยวกับโครงการพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดย คุณ Jihee Kim รองเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ หน่วยการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน เผยว่า ทาง UNEP มีเเผนการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศต่างๆ ซึ่งยังรวมไปถึงด้านยานยนต์ไฟฟ้าใช้เเล้ว นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้ากับเพศ นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเเบบบูรณาการ วงจรเเบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้าเเละด้านการสนับสนุนของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า
ต่อด้วย ปาฐกถาพิเศษ: EVs และเส้นทางสู่การบรรลุเป้าหมาย SDG7 โดยคุณ Kimberly Roseberry เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ กองพลังงาน เผยว่า การเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับชาติอื่นในโลก ในขณะเดียวกันการบริโภคพลังงานเชื้อเพลิงกลับมีเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นการตั้งเป้า 2030 ให้เราก้าวเข้าสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่สังคมดังกล่าว คือ 1.เพิ่มอัตราส่วนการผลิตเเละการใช้พลังงานหมุนเวียน 2.เพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานให้เพียงพอ 3.ขยายโครงสร้างพื้นฐานเเละอัพเกรดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน
ในส่วนของเสวนาช่วงบ่าย เป็นเสวนาด้านการเเชร์ความรู้ EVs Knowledge sharing เริ่มด้วยทําไมทองแดงถึงเป็นส่วนสำคัญของ EV วิทยากรโดย บริษัท โอเรียนเต็ล คอปเปอร์ จํากัด คุณอาทิตย์ ประทุมพวง รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท โอเรียนเต็ล คอปเปอร์ จํากัด ซึ่งได้เผยว่า “ปัจจุบันทองเเดงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต EV Components บริษัทโอเรียนเต็ล เป็นบริษัทผู้ผลิตทองเเดง โดยชาวไทย กว่าร้อยละ 90 ของทองเเดง ถูกนำส่งออกไปต่างประเทศ อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา เเละขยายไปสู่หมวดหมู่อุตสาหกรรมขนส่งอีกด้วย”
ต่อด้วยแนวโน้มล่าสุดในการเชื่อมชิ้นส่วน EV ด้วย Green Laser และ Multi Spot Scanner Optic โดยวิทยากรคุณ Markus Lindemann ผู้อํานวยการฝ่ายเลเซอร์ ฝ่ายขายและเทคโนโลยีระดับภูมิภาค บริษัท TRUMPF Pte Ltd. เเละตามด้วยความสําคัญของการทํางานร่วมกัน การสร้างมาตรฐานในสถานีชาร์จ EV โดยคุณพฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายขาย บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จํากัด (มหาชน) ในหัวข้อ เทคโนโลยี EV Charger และอนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าโดยคุณอนันตเดช อินทรวิศิษฐ์ ผู้จัดการธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
ช่วงบ่ายวันเดียวกัน เป็นเสวนาคู่ขนานในประเด็นกำหนดอนาคตของการจัดการแบตเตอรี่ที่ปลอดภัยและยั่งยืนในประเทศไทย (ร่วมกับ GIZ & TESTA) นั่งพูดคุย โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล และ ดร.อุเทน สุปัตติ, พิธีกร โดยคุณปาน ปิยะศิลป์ ในประเด็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่สู่ความยั่งยืนวิทยากร โดย ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) การอัปเดตสถานการณ์ของสหภาพยุโรป เกี่ยวกับแบตเตอรี่สำหรับ EV – ตลาด การผลิต ความปลอดภัย และกฎระเบียบ – GIZ ได้เเก่รูปเเบบแบตเตอรี่เเบบใหม่ (รวมถึงความปลอดภัย EOL), พาสปอร์ตแบตเตอรี่, แผนงานแบตเตอรี่ (เศรษฐกิจหมุนเวียน) โดยวิทยากร (ออนไลน์) คุณ Tilmann Vahle, ผู้อำนวยการฝ่าย Mobility and Batteries ที่ยั่งยืน SYSTEMIQ มาตรฐานความปลอดภัย ข้อบังคับ และนโยบายของแบตเตอรี่โดยวิทยากร: Mr. Kolin Low, ผู้อำนวยการภูมิภาค UL Standards & Engagement และปิดท้ายวันด้วย การอภิปรายเกี่ยวกับการกำหนดอนาคตของการจัดการแบตเตอรี่ที่ปลอดภัยและยั่งยืนในประเทศไทย โดยตัวแทนสหภาพยุโรปจาก SYSTEMIQ พร้อมด้วยคุณ Kolin Low, ผู้อำนวยการภูมิภาค UL Standards & Engagement เเละคุณวสุ กล่อมเกลี้ยง รองประธานบริหารฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการลงทุนบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA)
นอกจากนี้ เวทีเสวนาในช่วงบ่าย ที่ InnoTech Hall ยังได้รับเกียรติจากนายกสมาคมและผู้แทนสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศในเครือข่ายพันธมิตรสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอาเซียน (Asian Federation of Electric Vehicle Associations – AFEVA) ประกอบไปด้วย มร. เอ็ดมุนด์ อารากา ประธานกลุ่ม AFEVA และนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศฟิลิปปินส์ มร. เดนนิส ฉั่ว นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศมาเลเซีย มร. เทวนโกโน ชานดรา โพห์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศอินโดนีเซีย มร. เทอเรนซ์ ซิว เหรัญญิก สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศสิงคโปร์ และคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมพูดคุยถึงกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน โดยมีดร. ยศพงษ์ ลออนวล เลขาธิการกลุ่ม AFEVA เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
งานเสวนาวันสุดท้ายวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 มีการจัดสัมมนา “EVAT Tech Forum” หัวข้อ “Business Opportunity in EV E-Co System: โอกาสทางธุรกิจในระบบอีวีอีโคซิสเต็ม” และมีเวทีเสวนา เรื่อง โอกาสทางธุรกิจและความท้าทายในระบบอีวีอีโคซิสเต็ม ของ ธุรกิจดีลเลอร์ ศูนย์บริการ ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเช่าซื้อ อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านค้าปลีก และ โรงแรม ในครั้งนี้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้เชิญ สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าโดยตรง อาทิ สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย สมาคมอู่กลางการประกันภัย และสมาคมการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยมี ดร.ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ กรรมการ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เป็นผู้ดำเนินรายการในเสวนาครั้งนี้ ภายในงานเสวนาปาฐกถาที่น่าสนใจเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าดังต่อไปนี้ คุณสุโรจน์ เเสงสนิท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และอุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ฝ่ายวิชาการ เผยว่า “เมื่อประเทศไทย เป็นฮับของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของหลายๆค่ายรถยนต์ จะทำให้การเข้าถึงชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าง่ายขึ้นกว่าปัจจุบัน เเละราคาก็จะถูกลงอีกด้วย จากเดิมที่เราต้องนำเข้าอะไหล่จากต่างประเทศ”
เเละ ดร. ดวิษ กิระชัยวนิช ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เเละอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน NECTEC สวทช. กล่าวว่า “ในอนาคตเเบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นเทรนด์ของเเบตเตอรี่เเบบ Module 2 เเพค ซึ่งจะทำให้การซ่อมเเบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าง่ายขึ้นเเละราคาถูกลงกว่าเดิม”
ด้านประธานคณะกรรมการ ประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย คุณวาสิต ล่ำซำ เผยว่า “ในส่วนของประกันภัย ในอนาคตจะมีการเเบ่งเเยกส่วนของเเบตเตอรี่เพื่อการซ่อมเเซมโดยเฉพาะ ซึ่งตัวเเบตเตอรี่ในรถบางคันไม่จำเป็นต้องนำส่งซ่อมทั้งหมด เเต่สามารถเเยกส่วนซ่อมได้ ซึ่งก็จะทำให้เบี้ยประกันถูกลง”
ถัดมาคุณนพดล ซุ่มวงศ์ รองประธานกรรมการนายกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ได้กล่าวในประเด็น “สินเชื่อว่าในอนาคต สินเชื่อด้านยานยนต์ไฟฟ้าจะมีบริการสินเชื่อที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า” ส่วนคุณศุภกร ลีภัทรวรกุล นายกสมาคมอู๋กลางการประกันภัย เเละคุณธวัชชัย แย้มชื่นจิตนุกูล ผู้เเทนสมาคมการซ่อมรถยนต์เเห่งประเทศไทย มีความเห็นตรงกันว่า “ในประเด็นของตัวถังเเละสีมีความซับซ้อนขึ้นสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเเละทางสมาคมทั้งสองก็พร้อมที่จะปรับปรุงเเนวทางการซ่อมถังเเละสี ให้สอดคล้องกับแนวทางของเทคโนโลยีตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน”
ด้านคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า “ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโต ยิ่งในช่วงปีนี้เราได้เห็นยอดการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโตขึ้นเเบบก้าวกระโดด หลังจากที่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่หลากหลายค่ายจากต่างประเทศเข้ามาบุกตลาดยานยนต์ในไทย เราพบผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเท่าตัว สิ่งที่สำคัญตามมาคือ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหลายท่านในปัจจุบัน หรือผู้ที่กำลังวางเเผนจะซื้อยานยนต์ไฟฟ้า ยังไม่ทราบประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า งาน iEVtech 2023 ที่ได้จัดขึ้นในครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นงานที่ตอบโจทย์ ห่วงโซ่อุปทานยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งเเต่ต้นน้ำคือผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวเเทนในการนำเสนอนวัตกรรมสมัยใหม่และบรรยายในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงปลายน้ำคือผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าก็จะได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจากภายในงานอีกด้วยครับ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีถัดๆไป เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้นมาจัดเเสดงสอดรับกับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าโลกที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต”
เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand : EVAT) สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นสมาคมที่ไม่เเสวงหาผลกำไร โดยแนวทางของสมาคมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการเเลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับมาตรฐาน และการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาคมมี คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ทำหน้าที่นายกสมาคม และมีสมาชิกที่มาจากภาคเอกชน สถาบันศึกษา รัฐวิสาหกิจ และบุคคลทั่วไปรวมทั้งสิ้นกว่า 370 รายโดยทางสมาคมมีการกำหนดการจัดการประชุม ในทุกๆเดือน และมีการเเบ่งคณะทำงานในด้านต่างๆเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ที่ www.evat.or.th